2.2.1.2 ส่วนประกอบของ Flash
แถบเมนู (Menu Bar)
แถบเมนูเป็นแถบที่รวบรวมคำสั่งในการใช้งานทั้งหมดเกี่ยวกับการสร้างชิ้นงาน สร้างมูฟวี่ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการตั้งค่าเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมทั้งหมด
กล่องเครื่องมือ (Toolbox)
กล่องเครื่องมือเป็นที่รวบรวมเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างและปรับแต่งวัตถุซึ่งเครื่อง มือแต่ละชิ้นจะมีลักษณะเป็นไอคอนรูปภาพ
ที่เราสามารถคลิกเพื่อเรียกใช้งานได้ โดยจะมีการแบ่ง เครื่องมือต่างๆ เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
สเตจ (Stage) และพื้นที่การทำงาน (Pasteboard)
เราเรียกพื้นที่สีขาวตรงกลางหน้าจอที่ใช้จัดวางวัตถุต่างๆ ที่ต้องการแสดงให้เห็นในชิ้นงานว่า “สเตจ (Stage) หรือ Document Window ” ส่วนบริเวณสีเทาล้อมรอบนั้นเราจะใช้วัตถุที่ยังไม่ ต้องการให้แสดง เรียกว่า “ พื้นที่ทำงาน (Pasteboard) ” ซึ่งเราอาจเปรียบสเตจได้เหมือนเป็นเวที และพื้นที่ทำงานเป็นพื้นที่หลังเวทีที่ผู้ชมมองไม่เห็น แต่เราวางองค์ประกอบต่างๆ ที่จะนำไปแสดงบน สเตจได้
ไทม์ไลน์ (Timeline)
ไทม์ไลน์หรือเส้นเวลา จะใช้สำหรับสร้างและกำหนดรายละเอียดของการเคลื่อนไหว โดย เอาองค์ประกอบที่จะเคลื่อนไหว (เราเรียกองค์ประกอบในชิ้นงานว่า วัตถุ : Object ) มาจัดวางต่อ กันทีละภาพในแต่ละช่วงเวลากลายเป็นภาพเคลื่อนไหว (เราเรียกภาพในแต่ละช่วงเวลาว่า เฟรม : Frame)
เราแบ่งไทม์ไลน์เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่
• ส่วนเลเยอร์ (Layer) แสดงเลเยอร์ ที่เปรียบเสมือนแผ่นใส ใช้วางวัตถุซ้อนทับกัน โดยแต่ละเลเยอร์จะแยกเป็นอิสระต่อกัน แต่ประกอบกันเป็นชิ้นงานเดียว
• ส่วนเฟรม (Frame) แสดงช่องเฟรม ที่ทำงานเหมือนกับเฟรมในภาพยนตร์ โดยเมื่อมี การแสดงเฟรมอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหว ทั้งนี้ Flash จะแสดงผลทีละเฟรม โดยจะมีหัวอ่าน (Play head) ที่เป็นเส้นสีแดงคอยบอกตำแหน่งว่ากำลังทำงานอยู่ที่เฟรมใด
เราสามารถเปิด/ปิดไทม์ไลน์นี้ได้โดยใช้คำสั่ง Windows>Timeline หรือจะกดคีย์ลัด <Ctrl+Alt+T>ก็ได้
เราสามารถแบ่งไฟล์ชิ้นงานที่สร้างเป็นส่วนย่อยที่เรียกว่าฉากหรือซีนโดยในมูฟวี่หนึ่งๆ จะ ประกอบด้วยหนึ่งหรือหลายฉากก็ได้ เนื่องจากเราทำงานได้ทีละฉากเท่านั้น
จึงต้องเลือก ฉากที่จะทำงานด้วย โดยใช้คำสั่ง Window>Other Panels>Scene หรือเลือกใช้ปุ่มที่ด้านบน ของหน้าต่างเอกสารแล้วเลือกฉากที่ต้องการ
พาเนล (Panels)
พาเนล คือ หน้าต่างที่ใช้กำหนดค่าในการปรับแต่งวัตถุ ซึ่งใน Flash ได้มีการจัดพาเนลต่างๆ ไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ตามหน้าที่ของมันให้เราเรียนใช้ได้ ดังนี้
พาเนล Color และ Swatches เป็นพาเนลที่ใช้เลือกสีและผสมสีตามที่ต้องการซึ่งจะนำไปใช้ปรับแต่งค่าสีให้กับภาพ และตัวอักษรได้อย่างง่ายดาย โดยมีให้เลือกใช้ถึง 2 พาเนล คือ Color (ผสมสีเอง) และ Swatches (เลือกจากสีที่มีให้) โดยเราสามรถเปิดใช้งานพาเนล Color ด้วยคำสั่ง Window>Color และเปิดใช้งานพาเนล Swatches ด้วยคำสั่ง Window>Swatches
พาเนล Align เป็นพาเนลสำหรับจัดเรียงวัตถุให้เรียงอยู่ในแนวเดียวกันในรูปแบบต่างๆ
พาเนล Info เป็นพาเนลที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุ เช่น
- W แสดงความกว้างของวัตถุ
-
H แสดงความสูงของวัตถุ
- X แสดงตำแหน่งของวัตถุในแกน X
- Y แสดงตำแหน่งของวัตถุในแกน Y
พาเนล Transform เป็นพาเนลที่ใช้ปรับขนาด บิด และหมุนวัตถุ เช่น
- Rotate กำหนดมุมเพื่อหมุนวัตถุ
- Rotate กำหนดมุมเพื่อหมุนวัตถุ
- Skew กำหนดค่าสำหรับบิดวัตถุ
- 3D Center point กำหนดจุดศุนย์กลางวัตถุ 3 มิติ
พาเนล Library เป็นพาเนลที่ใช้เก็บองค์ประกอบ เช่น ซิมบอล ภาพ มูฟวี่ ไฟล์วีดีโอหรือไฟล์เสียง ซึ่งเราสามารถจัดเก็บองค์ประกอบเหล่านี้ได้อย่างเป็นระเบียบในโฟลเดอร์(ที่เราสร้างเอง) และสามารถเปิดใช้งานพาเนล Library ด้วยคำสั่ง Window>Library หรือกดคีย์ลัด <Ctrl+L>
พาเนล Motion Presets เป็นพาเนลที่เก็บการเคลื่อนไหวเร็จรูปไว้เพื่อช่วยให้เราสะดวกในการใช้งาน
แถบเครื่องมือ (Toolbar)
แถบเครื่องมือเป็นแถบที่รวบรวมคำสั่งในรูปแบบปุ่มไอคอน ให้เราสามารถคลิกเรียกใช้ได้ทันที โดยหาไม่ต้องหาในแถบเมนู เราเลือกเปิด/ปิดแถบเครื่องมือ โดยเลือกคำสั่ง Window>Toolbars> ซึ่งแถบเครื่องมือที่ต้องการใน Flash จะมีแถบเครื่องมืออยู่ 3 ชุด ดังนี้
-
แถบเครื่องมือหลัก (Main) จะรวบรวมคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ
-
แถบเครื่องมือควบคุมการแสดงผล (Controller) ใช้สำหรับควบคุมการแสดงภาพเคลื่อนไหว หรือมูฟวี่ที่เราสร้าง
-
แถบเครื่องมือแก้ไข (Edit Bar) ใช้สำหรับแก้ไขสเตจ โดยจะมีปุ่มคำสั่งเพิ่มเติมและเมนูสำหรับใช้ย่อ/ขยายสเตจ นอกจากนั้นยังใช้ในการเลือกทำงานกับฉากและซิมบอล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น