2.2.6.2 รู้จักกับเลเยอร์
เลเยอร์คือ เปรียบเสมือนที่เก็บของวัตถุที่ต้องการให้แสดงบนฉากซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างภาพเคลื่อนไหว
ลักษณะเหมือนกับการนำแผ่นใสมาวางซ้อนกัน
โดยที่แผ่นใสแต่ละแผ่นก็เป็นเหตุการณ์แต่ละชนิด เช่น
แผ่นใสที่ 1 เป็นรูปภูเขา
แผ่นใสที่ 2 เป็น ต้นไม้
แผ่นใสที่ 3
เป็นรูปพระอาทิตย์
เมื่อต้องการให้ให้ต้นไม้เคลื่อนไหวก็จัดการเฉพาะแผ่นใสที่ 2
หรือต้องการให้
พระอาทิตย์เคลื่อนที่ก็จัดการเฉพาะแผ่นใสที่ 3
และถ้าต้องการให้ทั้งต้นไม้และพระอาทิตย์ เคลื่อนไหว ก็สามารถจัดการแผ่นใสที่ 2 และ 3 ให้เคลื่อนไหวพร้อม ๆ กันได้ การทำงานของแต่ละ เลเยอร์จะเป็นอิสระต่อกัน
ดังรูป
Layer ในโปรแกรม Flash แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. Mask Layer เป็นเลเยอร์พิเศษที่เป็นลักษณะคล้ายหน้ากากที่เจาะช่องเพื่อให้มองทะลุ ผ่านไปยังเลเยอร์ชั้นถัดไป
ซึ่งเราสามารถกำหนดลักษณะของเลเยอร์ชนิดนี้ให้เคลื่อนที่ไปโดยเคลื่อน ไปซ้ายหรือขวาวนกันไป
2. Guide Layer เป็นเลเยอร์ที่ใช้ในการกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวให้กับชิ้นงาน
โดย สามารถกำหนดการเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระซึ่งสามารถกระทำได้ทั้ง Symbol หรือ Shape ซึ่งเรา สามารถกำหนดลักษณะที่กล่าวมาได้
รู้จักกับเฟรม (Frame)
เฟรม คือ
ช่องแสดงภาพแต่ละช่วงเวลา ถ้าเราเปรียบเทียบกับละคร Frame หมายถึงท่าทาง ของตัวละครที่จะเคลื่อนไหวในลักษณะต่างๆ
ในแต่ละช่วงเวลาที่ผู้กำกับกำหนด โดยในการแสดง แต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้ Frame
เป็นจำนวนหลาย ๆ Frame ในโปรแกรม Flash
มีสิ่งที่เรียกว่าเฟรม เป็นช่องเล็กๆ เรียงกันเป็นแถวยาว
ทำหน้าที่บรรจุภาพและเสียงที่จัดวางบนเวที
เราจึงต้องจัดเรียง เรื่องราวบนเฟรมให้ถูกต้องเป็นลำดับ เมื่อเราสั่งให้หัวอ่าน (Play
head) ทำงาน เฟรมก็จะถูก แสดงเมื่อหัวอ่านวิ่งผ่านเฟรมนั้นลักษณะของเฟรมเป็นไปดังรูปด้านล่าง
กำหนดให้ว่าควรเป็นเฟรมประเภทใด ดังต่อไปนี้
หมายเลข 1
เป็นคีย์เฟรม(Keyframe) ก็คือเฟรมที่มีการเปลี่ยนแปลงในรูปเป็นคีย์เฟรมว่าง จึงมีวงกลมสีขาว
แต่ถ้าเป็นคีย์เฟรมปกติที่มีตัวละคร เฟรมจะเป็นสีเทา
หมายเลข 2 เป็นเฟรมว่างเปล่า
ไม่มีตัวละครข้างใน
หมายเลข 3 เป็นแถบสีแดงเรียกว่า หัวอ่าน
(Playhead)
จะเห็นว่ามีจุดสีดำเกิดขึ้นในเฟรมที่ 1
หมายถึงเฟรมนั้นมีตัวละครแล้ว เราสามารถจัดการกับเฟรม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำให้ตัวละครเคลื่อนไหวที่ต้องใช้ความชำนาญเทคนิควิธีการใช้คำสั่ง กำหนดเฟรมสามารถทำได้โดยการคลิกขวาที่เฟรมนั้น
ก็จะเกิดเมนูย่อยให้เลือกต่อไป การเลื่อนหัว อ่านให้แสดงผลกดแป้นพิมพ์ Enter หรือ Ctrl+Enter
เพิ่มเติมเกี่ยวกับคำสั่งต่ำงๆ
ที่ใช้กับเฟรม
การใช้งานเกี่ยวกับเฟรมมีคำสั่งอยู่หลายคำสั่ง
โดยการคลิกขวาที่เฟรมแล้วเลือก คำสั่งตาม ต้องการหรือกดปุ่มคีย์ลัดก็ได้ คำสั่งต่างๆ มีดังนี้
- Insert Frames เป็นการเพิ่มจำนวนเฟรมลงไป
เพื่อเพิ่มระยะเวลาในการแสดงของชิ้นงานในคีย์เฟรมนั้นๆ (กดปุ่ม F5)
- Remove Frames เป็นการลบจำนวนเฟรมออกไป
เพื่อลดระยะเวลาในการแสดงของชิ้นงานในคีย์เฟรมนั้นๆ (กดปุ่ม Shift + F5)
- Insert Key frame เป็นการเพิ่มคีย์เฟรมลงไปในเฟรม
เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงชิ้นงานในคีย์เฟรมนั้นๆ (กดปุ่ม F6)
- Insert Blank Key frame เป็นการเพิ่มคีย์เฟรมเปล่าๆลงไปในเฟรม
เมื่อไม่ต้องการแสดงชิ้นงานให้เห็นในเฟรมนั้นๆ (กดปุ่ม F7)
- Clear Key frame เป็นการลบคีย์เฟรมนั้นๆ ออกไป (กดปุ่ม Shift + F6)
- Convert to Key
frame เป็นการเปลี่ยนเฟรมให้กลายเป็นคีย์เฟรม
- Convert to Blank
Key frame เป็นการเปลี่ยนเฟรมให้กลายเป็นเฟรมเปล่าๆ
- Cut Frames เป็นการตัดเฟรมนั้นๆ เพื่อนำไปวางในเฟรมที่ต้องการ(กดปุ่ม Ctrl +
X)
- Copy Frames เป็นการคัดลอกเฟรมนั้นๆ เพื่อนำไปวางในเฟรมที่ต้องการ (กดปุ่ม Ctrl + C)
- Paste Frames เป็นการวางเฟรมที่ได้ตัดหรือคัดลอกมา (กดปุ่ม Ctrl + V)
- Clear Frames เป็นการทำให้เฟรมนั้นเป็นเฟรมเปล่าๆ
- Copy Frames เป็นการเลือกเฟรมทั้งหมด
เพื่อที่จะช้ำสั่งอื่นๆต่อไป เช่น เลือกเฟรมทั้งหมดแล้วเลือกคำสั่ง Copy
Frames เพื่อคัดลอกเฟรมทั้งหมด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น