วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

2.2.5.3 การใช้อินสแตนซ์

2.2.5.3 การใช้อินสแตนซ์
หลังจากที่เราได้สร้างซิมบอลในพาเนล Library แล้ว ต่อไปเราจะนำซิมบอลมาใช้ในชิ้นงาน โดยคลิกลากซิมบอลจากพาเนล Library มาไว้บนสเตจ ซึ่งที่จริงแล้วซิมบอลก็ยังถูกเก็บอยู่ในพาเนล Library เช่นเดิม แต่เป็นเพียงการทำสำเนาซิมบอลมาไว้บนสเตจเท่านั้น ซึ่งเราเรียกสำเนานี้ว่า อินสแตนซ์ โดยเราจะดึงซิมบอลนี้ออกมามาใช้เป็นอินสแตนซ์บนสเตจกี่ครั้งก็ได้


                        เราปรับแต่งอินสแตนซ์ได้อย่างไรบ้าง
                         การปรับแต่งอินสแตนซ์ไม่ได้มีผลกับซิมบอลที่เป็นรูปทรงต้นฉบับแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการปรับแต่งคุณสมบัติเฉพาะตัวของอินสแตนซ์นั้นๆ
 ดังตัวอย่างเราได้ปรับแต่งอินสแตนซ์บนสเตจที่สำเนามาจากซิมบอลเดียวกันได้หลากหลายรูปแบบในการปรับแต่งอินสแตนซ์ที่วางอยู่บนสเตจ เราไม่สามารถใช้เครื่องมือปรับแต่งรูปทรงอื่นๆ กับอินสแตนซ์ แต่จะใช้เครื่องมือ Free Transform Tool ในการปรับแต่งอินสแตนซ์
                  -     ปรับขนาด (Scale) ของอินสแตนซ์
                  -    เลื่อนตำแหน่งจุดหมุน (0) ของอินสแตนซ์
                  -    หมุนหรือบิด (Rotate and Skew) อินสแตนซ์
  ซึ่งวิธีการใช้งาน Free Transform Tool ได้สอนไปแล้วในบท การจัดการวัตถุ
              เมื่อเราคลิกเลือกอินสแตนซ์ ก็สามารถทำการแก้ไขคุณสมบัติต่างๆ ของอินสแตนซ์ใน Property Inspector ดังนี้
                          -     ปรับตำแหน่งที่วางบนสเตจ
                          -     ปรับวัตถุแบบ 3 มิติ
                          -     ปรับรูปแบบการมองเห็น
                          -     กำหนดรอบการเล่นวนของวัตถุ
                          -     ปรับความกว้างและความสูงของอินสแตนซ์
                          -     ปรับสีของอินสแตนซ์
                          -    ปรับตำแหน่งด้วยฟิลเตอร์




                                          พาเนลปรับแต่งวัตถุที่เป็น Movie Clip



                    ปรับตำแหน่งอินสแตนซ์ที่วางอยู่บนสเตจ (Position)
           ในหัวข้อ Position and size ของ Property Inspectorเราสามารถเลือนตำแหน่งวัตถุโดยการกำหนดค่าแนวแกนตั้ง (X) และแนวแกนนอน (Y) โดยยึดจากตำแหน่งจุดอ้างอิง + ของวัตถุ ดังนี้


                             ปรับความกว้างและความสูง (Size)
                        เราสามารถปรับค่าความกว้างและความสูงของอินสแตนซ์โดยการใส่ความกว้าง(W)    และความสูง (H) เพื่อปรับขนาดของวัถุ โดยสังเกต เมื่อต้องการให้อินสแตนซ์มีอัตราส่วนความกว้างและความสูงคงที่ กล่าวคือเมื่อปรับค่าใดค่าหนึ่งอีกค่าหนึ่งจะปรับตามโดยอัตโนมัติแต่หากต้องการเพียงค่าเดียวให้คลิกเป็นสัญลักษณ์ ก็จะสามารถปรับค่าความกว้างและความสูงได้อิสระจากกัน

           ปรับวัตถุให้มีอัตราส่วนคงที่

                                
                                                     ปรับขนาดวัตถุอิสระต่อกัน


                        ปรับวัตถุแบบ 3 มิติ (3D Position and view)
          นอกจากการใช้เครื่องมือปรับวัตถุแบบ 3 มิติที่กล้องเครื่องมือแล้ว เรายังสามารถปรับค่าได้จากแถบ Position and views อีกด้วยโดยนำเมาส์ไปวางที่ตัวเลขค่าต่างๆ ให้เป็นสัญลักษณ์  แล้วคลิกลากลงด้านล่างหรือลากไปด้านซ้ายเป็นการปรับค่าให้น้อยลง และลากขึ้นด้านบนหรือไปทางขวาจะเป็นการปรับค่าให้มากขึ้น โดยในขณะที่ลากเมาส์ก็จะเห็นวัตถุที่สเตจเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวให้เห็นด้วย
                        ปรับสีของอินสเเตนซ์ (Color Effect)
                      ในหัวข้อ Color Effect ของ Property Inspector มีตัวเลือกในการปรับสีของอินสแตนซ์ดังนี้


               -     ปรับความมืด/สว่าง (Brightness) เลือก Brightness กำหนดค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ โดย 100 % เป็นค่าที่มืดที่สุดและ 100% เป็นค่าที่สว่างที่สุด ส่วนค่า 0% เป็นค่าความสว่างของภาพเริ่มแรก


                   -     ปรับโทนสีโดยการผสมสีใหม่ (Tint) กำหนดค่าตัวเลขในช่องของ RGB ได้ตั้งแต่ค่า 0 ถึง 255 หรือจะคลิกเลือกสีที่ต้องการได้ใน และกำหนดเปอร์เซ็นต์การผสมสีเดิมกับสีใหม่ที่เลือก โดยค่า 0% จะทำให้อินสแตนซ์แสดงสีเดิมอย่างเดียว ส่วนค่า 100% จะทำให้อินสแตนซ์แสดงสีใหม่อย่างเดียว


                       -     ปรับค่าสีขั้นสูง (Advanced) เป็นการปรับค่าสีและความโปร่งใสของภาพอย่างละเอียด โดยสามารถปรับค่าทุกๆ อย่างได้พร้อมกัน ยกตัวอย่างเช่นค่าของ Red เกิดจาก (ค่าเปอร์เซ็นต์ความโปร่งใส) X (R ค่าสีแดง) + (ค่าสีแดงที่เพิ่ม)


                         -     ปรับความโปร่งใส (Alpha) กำหนดค่าเปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ 0 ถึง 100% โดยค่า 0% จะทำให้อินสแตนซ์โปร่งใส (มองไม่เห็นอินสแตนซ์) ส่วนค่า 100% จะทำให้อินสแตนซ์แสดงสีชัดเจน เป็นสีปกติ


                   ในส่วนการปรับดิสเพลย์ (Display) และ การใช้งานฟิลเตอร์ (Filter) นั้นมีรายละเอียดค่อนข้างมาก   จึงจะแยกไปกล่าวถึงอย่างละเอียดในบท เทคนิคการตกแต่งวัตถุส่วนการกำหนดรอบการเล่นวนของวัตถุ (Looping)
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น